หน้าแรก  > หลักสูตรปวช.  > สาขาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

สาขาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์(mechatronics)

มุ้งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความมารถในด้านการทำงานในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยส่งเสริมให้เกิดทักษะด้านดิจิทัล(Digital Skills) ที่ใช้ในการสื่อสารและควบคุมในระบบโรงงานอัจฉริยะ (smart factory) และระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation factory) การใช้งานระบบ IOT ในอุตสาหกรรม พื้นฐานในการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์และการใช้โปรแกรมจำลองการทำงานเพื่อออกแบบการใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม การเขียนโปรแกรมควบคุมในงานอุตสาหกรรม (PLC) พื้นฐานการออกแบบวงจรควบคุมมอเตอร์การใช้งานและอออกแบบวงจรควบคุมแบบต่าง ๆ ร่วมถึงการพัฒนาให้เกิดกระบวนการคิดในรูปแบบการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) เกี่ยวกับการวางแผน วิเคราะห์ปัญหา เป็นการสร้างบุคลากรที่เป็นที่ต้องการในการทำงานในยุคที่มีการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการ พร้อมเรียนรู้และพัฒนาต้นเองให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า การออกแบบโครงสร้างและใช้เครื่องมือกลสร้างชิ้นส่วนและอุปกรณ์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมระบบสมองกลฝังตัว การใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมสั่งการผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารควบคุมแบบไร้สาย การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ควบคุมด้วยระบบสมองกลฝังตัว ด้วยกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นให้มีคุณธรรมในวิชาชีพ ใส่ใจอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

จุดเด่น

  1. ทำงานทางเทคนิคภายใต้การแนะนำและควบคุมของวิศวกรแมคคาทรอนิกส์ เกี่ยวกับการวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ให้คำแนะนำและจัดการเกี่ยวกับการสร้าง การประกอบ การซ่อมแซมเครื่องจักรกลและการจัดการในโรงงานอุตสาหกรรม

  2. บำรุงรักษาและตรวจซ่อมเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ใช้ร่วมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เครื่องจักรกลซีเอ็นซี และเครื่องจักรกลที่ใช้ฐานควบคุมในงานอุตสาหกรรม ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  3. เป็นสาขาที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต อุปกรณ์ในสาขาได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการทางด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ระบบสมองกลฝังตัวชั้นนำของประเทศ จึงได้ศึกษาเรียนรู้กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย และได้เข้าฝึกทักษะวิชาชีพจากสถานประกอบการที่มีคุณภาพ และสามารถสร้างโอกาสในการมีอาชีพกับหน่วยงานที่มีมาตรฐาน

อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา

  1. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    เมื่อจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือองค์กรของรัฐ ในสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งการเรียนจะเน้นตลาดด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีมาตรฐานสากลเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในแต่ละระดับ ซึ่งกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในงานอัตโนมัติจะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

    1. Process Control เป็นอุตสาหกรรมที่วัตถุดิบจะมีการไหลอย่างต่อเนื่องในระบบและจะมีการทำงานตลอดเวลา อุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบสมองกลฝังตัว โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า เป็นต้น

    2. Manufacturing Process เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นไปในลักษณะการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งในขั้นตอนการผลิตนั้นอาจจะไม่ต่อเนื่องหรือแยกส่วนกันทำได้ เช่น วิศวกรสมองกลฝังตัว วิศวกรซอฟต์แวร์ในโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

    3. Batch Process เป็นอุตสาหกรรมกึ่ง Process Control และ Manufacturing Process โดยที่รูปแบบการผลิตสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผลิตภัณฑ์ เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ช่วยนักวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

    • ผู้บริหารงานด้านบันเทิง ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมระบบภาพ ระบบเสียง ในสตูดิโอต่างๆ การติดตั้ง ระบบแสงสีเสียง ในงานคอนเสิร์ต และงานพิธีการต่างๆ
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์ การควบคุมโดรน โดยเป็นงานที่กำลังต้องการผู้มีความชำนาญเฉพาะทางด้านนี้อย่างมาก
    • ประกอบกิจการในด้านเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวของตนเอง
    • งานด้านนักวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต
    • อาจารย์สังกัดหน่วยงานของรัฐและเอกชน
    • สามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปได้
  2.  

บรรยากาศการเรียน

ชื่อวุฒิการศึกษา

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์
Vocational Certificate in Mechatronics

ประเภทวิชา อุตสาหกรรม สาขางาน เมคคาทรอนิกส์

โครงสร้างหลักสูตร
ดาวน์โหลด

ค่าเล่าเรียน
ดูรายละเอียด

เอกสารและคุณสมบัติ
ดูรายละเอียด

กองทุนกู้ยืม
กยศ.| กรอ.

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ !